THAILAND IVF Clinic Information Center 

Call Center : 02-949-7806     

  Monday - Friday 08:30 - 17:30
  Saturday and Sunday - CLOSED

 Phone: (66) 02-949-7816-20
 [email protected]

  WorldMedic Information & Technology 
  42/1 Ramindra Rd. Bangkok.

Jul
07

PESA/TESE/TESE

nl10

PESA/TESE/TESE 

PESA/TESE/TESE

ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถช่วยให้ฝ่ายชายที่เป็นหมัน คือไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก การอุดตันของท่อนำอสุจิ หรือไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด หรือมีปัญหาของการหลั่ง หรือตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด หรือมีการอักเสบของอัณฑะเนื่องจากเชื้อไวรัสคางทูมหรืออื่นๆ สามารถมีบุตรของตนเองได้โดย อาจนำเอาตัวอสุจิออกมาใช้ในขบวนการอิ๊คซี่ได้โดย วิธีการต่อไปนี้


พีซ่า (PESA = Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็ม แทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา
มีซ่า (MESA = Microsurgical Epiddymal Sperm Aspiration) คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา
ทีซ่า (TESA = Testicula Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา
ทีซี่ (TESE = Testicular biopsy Sperm Extraction) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกบางส่วน แล้วแยกตัวอสุจิที่ค้างอยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา


ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสนับสนุน คือ การปฏิสนธินอกร่างกาย และเลี้ยงตัวอ่อนได้ดี (In vitro Fertilization) รวมทั้งความชำนาญในการจับและยิงอสุจิเข้าเซลล์ไข่ (ICSI) ได้ดี และหวังผลได้ อัตราการปฏิสนธิจากวิธีนี้ประมาณ 70 - 80 %อัตราการตั้งครรภ์ประมาณ 30 - 40 %


ข้อมูลโดย ศูนย์การแพทย์นวบุตร

Continue reading
  514 Hits
514 Hits
Jul
07

กิฟท์ (GIFT, Gamete intrafallopian transfer)

nl01

กิฟท์ (GIFT, Gamete intrafallopian transfer) 

กิฟท์ (GIFT, Gamete intrafallopian transfer)

คือวิธีการที่ใส่เชื้ออสุจิ(ที่เตรียมแล้ว)และไข่ (sperm and egg) เข้าไปในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง 1 หรือ 2 ข้าง ทั่วๆไปจะใส่ไข่ 2 ฟองร่วมกับตัวเชื้ออสุจิ 5 หมื่นถึง 1 แสนตัวต่อท่อ 1 ข้าง (รวมแล้ว ใช้ไข่ 4 ฟอง)


ข้อบ่งชี้
1. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกโพรงมดลูก
3. เชื้ออสุจิอ่อนแต่ไม่มาก
4. หลังจากไม่สำเร็จจากการผสมเทียมโดยใช้เชื้อชายอื่น


ขั้นตอน

1. การกระตุ้นไข่ให้ได้ไข่หลายๆฟอง ในรอบธรรมชาติจะมีไข่เพียง 1 ฟอง ต่อเดือน แต่ในรอบที่จะใช้วิธีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น กิฟท์ เราจะกระตุ้นรังไข่หลายๆฟองเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลายวิธี แต่วิธีการที่ใช้บ่อย คือ


1.1 วิธีที่ใช้ระยะเวลายาว (long protocol) โดยการให้ฮอร์โมน
ตัวหนึ่ง (GnRHa, gonadotropin releasing hormone agonists) อาจโดยการพ่นยาเข้าโพรงจมูกหรือฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ประมาณ 7-10 วันก่อนที่จะมีประจำเดือนให้ไปจนกระทั่งตรวจพบว่าระดับ ฮอร์โมนเอสตราไดออล (estradiol) มีระดับน้อยกว่า 30-35 พิโคกรัมต่อซี.ซี จึงเริ่มต้นยาฉีดเพื่อกระตุ้นรังไข่ ยาที่ใช้คือ hMG (human menopausal gonadotropin) หรือ FSH(follicle stimulating hormone) ซึ่งมีชื่อทางการค้าแตกต่างกันไปส่วนใหญ่จะให้ยาฉีดทุกวัน ติดตามผลการกระตุ้นรังไข่โดยการดูขนาดของงไข่(follicle)ด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง อาจใช้ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับ เอสตราไดออลซึ่งระดับจะสูงสัมพันธ์กับขนาดและจำนวนของถุงไข่ ให้ยาจนกระทั่งมีถุงไข่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-20 มม. (จากการวัดโดยคลื่นเสียงความถี่สูง) นวนอย่างน้อย 2-3 ถุง จึงให้ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง (hCG, human chorionic gonadotropin) ขนาด 5,000-10,000 ยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และจะทำการเจาะเก็บไข่ (ovum pick up) หลังจากยาฉีดประมาณ 34-36 ชั่วโมง


1.2 วิธีที่ใช้ระยะเวลาสั้น (short protocol) โดยการให้ฮอร์โมน GnRHa )โดยการพ่นยาเข้าโพรงจมูกหรือฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังโดย เริ่มยาวันที่ 2-3 หลังจากที่มีประจำเดือนและให้ยาฉีดเพื่อกระตุ้นรังไข่ 1 วันหลังจากได้ฮอร์โมน GnRHaหลังจากนั้นขั้นตอนจะเหมือนกับวิธีที่ 1.1


2. การเจาะเก็บไข่ (ovum pick up) โดยทั่วๆไปจะใช้การเจาะผ่านทางช่องคลอดโดย การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยส่วนน้อยจะเจาะผ่านผนังหน้าท้อง หรือผ่านทางกล้องส่องผ่านทางผนังหน้าท้อง จะกระทำภายใต้การให้ยาสลบเพื่อไม่ให้เจ็บปวดหรืออาจให้เพียงยาระงับปวดร่วมกับยากล่อมประสาทก็ได้


3. การเตรียมน้ำอสุจิ จะเตรียมน้ำอสุจิโดยการให้ฝ่ายชายเก็บอสุจิโดยการช่วยตัวเอง (masturbation) และนำน้ำอสุจิที่ได้ไป เตรียมทางห้องปฏิบัติการ


4. การใส่อสุจิร่วมกับไข่เข้าไปในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง โดยทั่วๆไปจะกระทำผ่านทางกล้องส่องเจาะผ่านผนังหน้าท้อง (ส่วนน้อยจะทำผ่านโพรงมดลูกและผ่านสายเข้าท่อนำไข่โดยใช้กล้องส่องภายในโพรงมดลูกหรือใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วย) ส่วนใหญ่จะกระทำภายใต้การให้ยาสลบเพื่อไม่ให้เจ็บปวด


5. หลังใส่เชื้ออสุจิและไข่เข้าทางท่อนำไข่เรียบร้อยแล้วจะแนะนำให้นอนพักผ่อน แต่ไม่ถึงขนาดต้องนอนนิ่งๆบนเตียงตลอดเวลา อาจทำงานได้บ้างเบาๆจะมีการให้ยารับประทานหรือยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือให้ยาทั้งสองชนิดร่วมกัน(ยารับประทานอาจให้ หน็บช่องคลอดได้) แล้วแต่แพทย์แนะนำ


6. ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากทำกิฟท์ จะนัดมาเจาะเลือดเพื่อดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โอกาสตั้งครรภ์ ประมาณ ร้อยละ 30-40 ค่าใช้จ่าย ค่อนข้างสูง


ขอขอบพระคุณ
ผศ.นพ. สิงห์เพ็ชร สุขสมปอง
สาขาวิชาผู้มีบุตรยาก ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Continue reading
  520 Hits
520 Hits
Jul
07

การฉีดเชื้ออสุจิ (IUI)

nl09

 การฉีดเชื้ออสุจิ (IUI)

การฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก Intrauterine Insemination (IUI)


การฉีดเชื้อ หรือเรียกกัน ว่า IUI ซึ่งย่อมาจาก Intrauterine insemination เป็นการฉีดอสุจิโดยใช้สายขนาดเล็ก ฉีดเชื้อผ่านปากมดลูกเข้าโพรงมดลูกในช่วงเวลาที่ไข่ตก IUI เป็นการรักษาในรายที่ฝ่ายชายนั้นคุณภาพเชื้ออสุจิมีปัญหาไม่มากนักและฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่ที่ไม่อุดตันอย่างน้อยหนึ่งข้าง โดยวิธีนี้ฝ่ายหญิงจะได้รับการช่วยกระตุ้นรังไข่โดยใช้ยา และจะมีการตรวจติดตามการเจริญของไข่ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เมื่อไข่เจริญได้ขนาดที่หมาะสมแพทย์จะใช้ยา เพื่อกำหนดการตกไข่และกำหนดวันฉีดเชื้อ โดยวันที่ฉีดเชื้อนั้นฝ่ายชายจะต้องเก็บน้ำเชื้อให้ทางห้องปฏิบัติการทำการคัดแยกเชื้ออสุจิที่เคลื่อนไหวคุณภาพดีเตรียมให้แพทย์ฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อผสมกับไข่ในร่ายกาย โดยโอกาสการตั้งครรภ์จากวิธีนี้ จากสถิติอัตราความสำเร็จประมาณ 10-15% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้ในแต่ละรายEnter your text here ...

Continue reading
  539 Hits
539 Hits
Jul
07

การเก็บรักษาอสุจิ

nl08

การเก็บรักษาอสุจิ 

การเก็บรักษาอสุจิ

ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่สามารถให้น้ำเชื้อได้ในวันที่ต้องทำการผสมกับไข่ เช่นมีปัญหาในการนำเชื้อออก หรือมีความประสงค์ต้องการเก็บอสุจิไว้ก่อนการทำหมัน ก่อนการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง หรือรังสีรักษา สามารถทำการเก็บรักษาตัวอสุจิไว้ก่อนได้ด้วยการใช้น้ำยาในการเก็บรักษาและแช่แข็งใน ไนโตรเจนเหลว ที่อุณหภูมิ -196 ºC ซึ่งสามารถเก็บได้นานหลายปี

Continue reading
  474 Hits
474 Hits
Jul
07

ยากระตุ้นไข่

nl07

ยากระตุ้นไข่ 

พ.ต.ท. น.พ.เสรี ธีรพงษ์

อาจมีคำถามต่อไปว่า " สตรีทุกคนมี "ไข่" ตกเพียงใบเดียวในแต่ละเดือนมิใช่หรือ "


ความจริงคือ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีกระบวนการสร้างไข่ที่สลับซับซ้อน โดยในช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือน ก็มีการเจริญของเซลล์ "ไข่" แล้ว "ไข่" ในระยะแรกเริ่มเดิมทีนั้นเจริญขึ้นมาเองมากมายด้วยกลไกอะไรไม่ทราบได้ โดยใช้เวลานานประมาณ 10 สัปดาห์ ก็จะได้เซลล์ไข่ระยะเริ่มต้นที่พอจะกระตุ้นได้ซึ่งตรงกับช่วงที่สตรีกำลังมีประจำเดือนพอดี โดยปกติเซลล์สืบพันธุ์ระยะเริ่มแรกของ "ไข่" จำนวนหลายพันใบ จะมีการเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ แต่จะไม่เกินข้างละ 20 ใบเท่านั้น ที่ยังเหลืออยู่เมื่อเริ่มต้นของรอบระดูใหม่

การเจริญเติบโตของ "ไข่" เมื่อเริ่มต้นของรอบระดูจำเป็นจะต้องได้รับการกระตุ้นด้วย "คำสั่งหรือสัญญาณจากสมอง" เท่านั้นจึงจะเจริญเติบโตต่อไปได้

คำสั่งหรือสัญญาณจากสมอง (Gonadotropin) นี้ สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหนึ่ง (Anterior pituitary) ดังนั้นจึงเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Pituitary Hormone) ชนิดหนึ่งและจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนจากสมองส่วน Hypothalamus อีกที

ฮอร์โมนจากสมองส่วน Hypothalamus (Neurohormone) ที่ควบคุมการสร้างสัญญาณจากสมองมีชนิดเดียวเฉพาะเท่านั้นเรียกว่า Gonadotropin Releasing Hormone ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า GnRH (จี.เอ็น.อาร์.เอช)

"ไข่" ที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้นของรอบเดือนจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมากขึ้นตามขนาดและจำนวนของ "ไข่" ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีผลกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้เจริญหนาขึ้นตามลำดับ

โดยทั่วไปเอสโตรเจนหรือเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรนที่มีระดับสูงนั้นจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง Gonadotropin (Negative Feedback) แต่ในระยะกลางรอบเดือนระดับเอสโตรเจนที่มากเกินกว่า 200 พิโครกรัมต่อมิลลิลิตรขึ้นไป ประกอบกับความเข้มข้นคงอยู่ในระดับนี้นานมากกว่า 50 ชั่วโมง แทนที่จะส่งผลกดการหลั่งของ LH กลับกลายเป็นการชักนำให้เกิดการกระตุ้นให้หลั่งสาร LH ในปริมาณมากๆ (Positive Feedback) เกิดภาวะที่เรียกว่า "LH SURGE" ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลทำให้ "ไข่" ตก ในระยะเวลาประมาณ 24-36 ชั่วโมงต่อมา

ตำแหน่งที่ "ไข่" ตกในรังไข่จะเปลี่ยนเป็นส่วนที่เรียกว่า "Corpus Luteum" ทำหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนออกมา

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกฤทธิ์กดการหลั่งของ GnRH (Negative Feedback) ขณะเดียวกันจะมีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนแปลงสภาพภายในให้เหมาะสมแก่การฝังตัวของ "ตัวอ่อน"


หลักเกณฑ์ในการกระตุ้นให้มีการตกไข่

สิ่งสำคัญที่สุดคือรังไข่ ยังทำงานอยู่คือยังมี "ไข่" และสามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ สตรีที่สมควรได้รับการกระตุ้นและชักนำให้ไข่ตกได้แก่


1. สตรีที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น

1.1 มีความผิดปกติที่ระดับส่งการบริเวณสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความเครียด น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป

1.2 มีความผิดปกติที่ระดับสั่งการ บริเวณต่อมใต้สมอง เช่น มีเนื้องอกของต่อมใต้สมอง


2. สตรีที่มีความผิดปกติในเรื่องของการตกไข่ คือ "ไข่" ไม่ตก

กระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตกมี 3 แนวทางด้วยกัน

แนวทางที่ 1 กระตุ้นที่ระบบสั่งการในสมอง

แนวทางที่ 2 กระตุ้นที่รังไข่โดยตรง

แนวทางที่ 3 ใช้ทั้งสองแนวทางร่วมกัน


แนวทางที่ 1 กระตุ้นที่ระบบสั่งการที่สมอง ได้แก่

การกระตุ้นที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ/หรือ Hypothalamus

ยา หรือสารที่ทำหน้าที่กระตุ้นได้แก่ ยา Clomiphene citrate, ฮอร์โมนจากHypothalamus (GnRH) และ Bromocriptine

CLOMIPHENE CITRATE เป็นสารประเภทต่อต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดหนึ่งออกฤทธิ์โดยการไปแย่งที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการจับจุดรับบริเวณที่เอสโตรเจนออกฤทธิ์ตำแหน่งต่างๆ เช่น Hypothalamus ต่อมใต้สมอง รังไข่ และมดลูก

สำหรับที่ตำแหน่ง Hypothalamus และต่อมใต้สมองจะมีผลทำให้มีการหลั่ง GnRH และ Gonadotropin มากขึ้นทำให้เกิดการกระตุ้นไข่มากขึ้นและไขที่เจริญขึ้นมาจำนวนมากแต่เดิมนั้น ไม่ฝ่อไปจนเกือบหมดตามกลไกธรรมชาติ เหลือไข่ที่เติบโตจนได้ขนาดเหมาะสมหลายใบไข่เหล่านั้นมีคุณสมบัติในการปฏิสนธิได้ดีเช่นเดียวกัน


ข้อบ่งชี้ในการใช้ Clomiphene Citrate

1. สตรีมีลูกยากที่เกิดจากภาวะไข่ไม่ตก โดยเฉพาะกลุ่มที่ระบบสั่งการจากสมองทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรและโรคของรังไข่

2. สตรีที่มีไข่ตกไม่สม่ำเสมอ และ/หรือ มีภาวะการทำงานของ Corpus Luteum บกพร่อง

3. เพื่อกำหนดระยะเวลาในการคัดเชื้อ & ฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก

4. ใช้กระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว


วิธีการใช้ยา

โดยเริ่มรับประทานยาในวันที่ 2 ถึง 5 ของรอบประจำเดือน จากนั้นก็ติดตามดูการเจริญเติบโตของ "ไข่" ด้วยการดูอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด หรือร่วมกับการเจาะเลือดดูฮอร์โมนที่ไข่สร้าง เมื่อไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม ไข่อาจจะตกออกมาเองด้วยกลไกทางธรรมชาติหรือบังคับโดยให้ยาเพื่อชักนำให้ไข่ตกตามเวลาที่เราต้องการก็ได้


ข้อห้ามในการใช้ Clomiphene Citrate

1. สตรีที่ตั้งครรภ์

2. โรคตับ เนื่องจากยาถูกทำลายที่ตับ

3. เลือดออกผิดปกติ จากโพรงมดลูก


ผลการสำเร็จจากการรักษา

พบว่า อัตราการตกไข่ประมาณร้อยละ 80 และมีการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 40 ในจำนวนนี้พบครรภ์แฝดได้ร้อยละ 5 การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะเกิดภายใน 3-5 เดือนแรก


ข้อเสียและภาวะแทรกซ้อน

เนื่องจาก Clomiphene เป็นสารต่อต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงมีผลเสียต่อคอมดลูก ในเรื่องการตอบสนองฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลให้มูกที่คอมดลูกข้น เป็นอุปสรรคในการผ่านไปของตัวอสุจินอกจากนั้นยังอาจมีผลเสียต่อเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย

สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ ท้องอืด ปวดท้อง เจ็บคัดเต้านม คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ ผมร่วง รังไข่โตมาก จนถึงอาจเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปด้วย


BROMOCRIPTINE

Bromocriptine เป็นสารออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้ายับยั้งการหลั่ง Prolactin ในคนปกติ Bromocriptine จะสามารถออกฤทธิ์ลดระดับ Prolactin ในคนปกติ Bromocriptine จะสามารถออกฤทธิ์ลดระดับ Prolactin ได้ภายใน 1 ชั่วโมง หลังรับประทานยา และยับยั้งการหลั่งได้นานถึง 12 ชั่วโมง


วิธีใช้

โดยทั่วไปเริ่มให้ยาในขนาดต่ำก่อนเพื่อลดอาการข้างเคียงของยา ส่วนใหญ่จะให้วันละครั้งในตอนเย็นหรือก่อนนอนพร้อมอาหาร เมื่อสามารถทนต่อยาได้ดีก็ค่อยๆ ปรับขนาดของยาตามความเหมาะสมโดยมีวิธีการให้ยาได้ 2 วิธีดังนี้

อาจจะให้ยาติดต่อกันทุกวันจนกระทั่งตั้งครรภ์หรือให้ยาเฉพาะช่วงแรกของการมีระดับจนถึงเวลาที่มีไข่ตกแล้วหยุดยาและให้ใหม่ในรอบระดูถัดไปเมื่อไม่ตั้งครรภ์

นอกจากนี้ยังอาจใช้ร่วมกับ Clomiphene Citrate ในการกระตุ้นไข่รักษาได้ด้วย

ในสตรีมีลูกยากที่มีข้อบ่งชี้ให้รักษาด้วยยา Bromocriptine พบว่า เมื่อใช้ร่วมกันจะสามารถชักนำให้ไข่ตกและตั้งครรภ์ได้ถึงร้อยละ 80 โดยไม่พบว่ายานี้มีผลต่อความพิการของทารกแต่อย่างใด


อาการแทรกซ้อน ที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลมเวลาลุกขึ้นนั่งหรือยืนเร็วๆ มึนงงศีรษะปวดศีรษะ ท้องร่วง


GnRH (Gonadotropin Releasing Hormone)

GnRH เป็นฮอร์โมนที่สร้างบริเวณ Hypothalamus ออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างและหลั่ง Gonadontropin (FSH & LH) เพื่อไปกระตุ้นรังไข่ให้ผลิต "ไข่" อีกที

ดังนั้นสตรีที่เหมาะสำหรับการรักษาด้วย GnRH จึงต้องมีต่อมใต้สมองและรังไข่ทำงานปกติเพื่อสามารถตอบสนองต่อ GnRH ได้

เมื่อให้ GnRH ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะกระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมองเฉพาะในช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นกดการทำงานของต่อมใต้สมอง อันเป็นผลให้ระดับ Gonadotropin ที่สูงขึ้นในระยะแรกค่อยๆ ลดลงตามลำดับ

การรักษาด้วย GnRH แบบเป็นจังหวะใช้ได้ผลดีในกรณีที่สตรีมีความผิดปกติของ Hypothalamus ในเรื่องการหลั่ง GnRH ซึ่งส่วนใหญ่จะมาหาแพทย์ด้วยเรื่องขาดระดู

นอกจากนี้ยังใช้รักษาภาวะต่างๆ ดังนี้

1. สตรีที่มีระดับ Prolactin ในเลือดสูงเกิน

2. บางรายที่ไม่ตอบสนองต่อยา Clomiphene Citrate

3. กระตุ้นการเจริญเติบโตของ Folocles ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว

4. ภาวะที่มีการทำงานของ Corpus Luteum บกพร่อง


วิธีการใช้ยา GnRH เพื่อกระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตก ทำได้โดยเลียนแบบธรรมชาติคือให้ GnRH ทุก 60-120 นาที โดยใช้เครื่องฉีดอัตโนมัติ ฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนังหรือหลอดเลือดดำจะให้เช่นนี้ไปตลอดจนกระทั่งตั้งครรภ์หรือจนกระทั่งไข่ตกแล้วหยุดก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมให้ยาในวันที่ 5 ของรอบระดู


ผลการตั้งครรภ์


ผลการรักษาเท่าที่มีรายงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ถึง 1984 จำนวน 36 รายงาน

จำนวนสตรี 388 (ร้อยละ 56)

จำนวนรอบรักษา 916 (ร้อยละ 7.3)

จำนวนการตั้งครรภ์ 216 (ร้อยละ 14)

จำนวนครรภ์แฝด16 (ร้อยละ 1.1)

แท้งบุตร 31

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป 10


สำหรับความพิการของทารกเท่าที่ผ่านมายังไม่มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้

ภาวะแทรกซ้อน พบน้อยและไม่รุนแรง เช่น มีการอักเสบของเส้นเลือดหรือก้อนเลือดขังบริเวณที่ฉีดยา

ปัจจุบันนี้การใช้ GnRH เพื่อกระตุ้นให้ไข่ตกมีไม่มากนักเพราะต้องใช้ฉีดอย่างต่อเนื่องและต้องมีข้อบ่งชี้จริงๆ แต่ที่ใช้ GnRH มากๆ กลับเป็นการใช้เพื่อหวังผลกด การทำงานของระบบสั่งการในสมองส่วน Hypothalamus ร่วมกับการกระตุ้นรังไข่ด้วยยา Gonadotropin (FSH & LH) เพื่อทำกิ๊ฟหรือเด็กหลอดแก้ว


แนวทางที่ 2 กระตุ้นไข่โดยตรง

Gonadotropin (FSH & LH) สารสังเคราะห์ Gonadotropin ผลิตได้จากการแยกจากปัสสาวะของสตรีวัยหมดระดูซึ่งมีระดับ FSH และ LH สูง แต่ในปัจจุบันแหล่งผลิตโดยอาศัยปัสสาวะจากสตรีวัยหมดระดู หายากขึ้นทุกทีจึงต้องหาแหล่งผลิตใหม่ ที่ใหญ่กว่าคือ พวกจุลินทรีย์ที่มีไม่จำกัด (Recombinant DNA)


ข้อบ่งชี้ในการใช้ GONADOTROPIN

- สตรีที่ไม่มีการตกไข่

- กระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วและเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ชั้นสูงอื่นๆ
- สตรีมีมูกบริเวณมดลูกไม่ดี
- สตรีที่มีการทำงานของ Corpus Luteum บกพร่อง

การให้ HMG ในการกระตุ้นไข่จะทำให้ได้ "ไข่" จำนวนมาก และปริมาณเอสโตรเจนในขนาดที่สูงด้วยจนอาจเกิดการชักนำให้เกิด LH Surge ขึ้นมาเองตามธรรมชาติอันอาจเป็นผลเสียมากกว่าเป็นผลดี ดังนั้นการให้ GnRH Agonist ร่วมด้วยเพื่อใช้ยับยั้งการหลั่ง Gonadotropin (FSH & LH) จากสมองจะเป็นการช่วยไม่ให้มีการเกิด LH Surge ขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นประโยชน์อย่างมากในการควบคุมให้ "ไข่" ที่เจริญขึ้นมาทั้งหมดถูกนำไปใช้ให้เกิดการปฏิสนธิได้อย่างเหมาะสม


ภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญได้แก่ ครรภ์แฝดและภาวะที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปสำหรับครรภ์แฝดพบได้ร้อยละ 25 โดยมีร้อยละ 5 ที่มีครรภ์แฝดสามหรือมากกว่า


ผลการรักษา

อัตราการตกไข่จากการใช้วิธีนี้สูงถึงร้อยละ 90 แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวสตรีเอง วิธีการรักษาและติดตามการรักษา


ผลการตั้งครรภ์

อัตราการตั้งครรภ์แตกต่างกันไประหว่างร้อยละ 23-82 แล้วแต่ลักษณะพยาธิสภาพของสตรีและความถี่ห่างของการรักษา


PURE FSH มีข้อบ่งชี้ คือ

1. ใช้ในกรณีที่สตรีมีภาวะ Polycystic Ovarian Disease เนื่องจากสตรีเหล่านี้มีระดับของ LH สูงอยู่แล้ว

สำหรับอัตราการตกไข่และการตั้งครรภ์จากการใช้ Pure FSH พบว่าไม่แตกต่างจากการใช้ HMG/HCG

2. ใช้ในสตรีที่มีการทำงานของ Corpus Luteum บกพร่องอันเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของ Follicle ผิดปกติโดยอาจเกิดจากระดับ FSH ในช่วงแรกของรอบระดู ระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

สำหรับอัตราการตั้งครรภ์สะสมเมื่อรักษาได้ 6 เดือน พบได้ร้อยละ 48

3. ใช้ในการกระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วพบว่า ผลไม่แตกต่างจากการใช้ (Clomiphene Citrate) / ร่วมกับ HMG


แนวทางที่ 3 กระตุ้นที่ระบบควบคุมสั่งการ ร่วมกับกระตุ้นรังไข่โดยตรง

เช่น การใช้ Clomiphene Citrate ร่วมกับ HMG Pure FSH เป็นต้น

การกระตุ้นไข่ไม่ใช่เรื่องยากหรือแปลกประหลาดอะไร แท้จริงเป็นเพียงแต่การทำให้สิ่งที่ร่างกายเรามีอยู่แล้ว คือเซลล์ไข่ที่เจริญขึ้นมาเองอย่างมากมาย ไม่ถูกทอดทิ้งไปโดยไร้ประโยชน์ กลับยังสามารถนำมาใช้อย่างได้ผลดีด้วย ดังจะเห็นได้จากมีการเกิดแฝดสองหรือแฝดสามขึ้นมาจากการรักษา จนทำให้ผู้คนเข้าใจผิดว่าการกระตุ้นไข่เป็นการทำ "เด็กแฝด"

การกระตุ้นไข่และชักนำให้ตกแม้ว่าจะเป็นเรื่องไม่ยากแต่ก็ควรอยู่ในมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ มิฉะนั้นแล้วหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาก็อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจนยากแก่การเยียวยาแก้ไข 

Continue reading
  682 Hits
682 Hits
Jul
07

ห้องปฏิบัติการ ART Lab

nl05

ห้องปฏิบัติการ ART Lab 

Consultation

1. Consultation room
2. Examination room: Internal examination, High frequency sound examination (Ultrasonography)
3. Surgical rooms and modern laboratories In the room where the embryo is kept, there will be a standard Clean Room Class 1,000, which is a clean room with temperature, humidity, light pressure and noise control. Control all environmental friendly
4. Laboratory IVF (+, Sperm, IVF Lab's)
5. Hormone, Lab's results accurately and quickly. Have quality control at Internal and External QC.
6. Sperm Lab. Analyze with computer. By personnel with particular expertise
7. Embryo Lab is a standard tool and equipment Quality control and inspection of equipment standards And quality of every kind of liquid regularly With the growing embryo to term until Blastocyst

8. Genetics, Lab's tools and modern equipment Laser standard used to help drill shell embryo. Reading results by computer Provide accurate and accurate results 

Continue reading
  610 Hits
610 Hits
Jul
07

วิทยาการช่วยการเจริญพันธุ์

nl06

วิทยาการช่วยการเจริญพันธุ์ 

วิทยาการช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technologies : ART) หรือ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียก Medically Assisted Conception (MAC) หมายถึง ขบวนการหรือกรรมวิธีที่ช่วยให้คู่สมรสมีบุตรได้โดยไม่ต้องมีการร่วมเพศตามธรรมชาติแต่อย่างใด


นิยามอันนี้มีข้อขัดแย้งกันอยู่บ้าง บางท่านจะหมายถึงวิธีการที่จะต้องมีการเคลื่อนย้ายทั้งไข่และตัวเชื้ออสุจิเท่านั้น จึงจะเรียก ART แต่บางท่านจะหมายรวมถึงวิธีการเตรียมเชื้ออสุจิเพื่อฉีดเข้าไปในร่างกายสตรีก็เรียกว่า ART แล้วโดยไม่จำเป็นต้อง manipulate ไข่เลย Speroff ได้ให้คำจำกัดความของ ART ไว้ว่า หมายถึงเทคนิคทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการ manipulate ไข่จากรังไข่ 

Continue reading
  505 Hits
505 Hits
Jul
07

การบริการเพื่อการมีบุตร

nl05

การบริการเพื่อการมีบุตร 

การบริการเพื่อการมีบุตร

- ตรวจวินิจฉัย : อัลตร้าซาวด์, ส่องกล้องภายในตรวจอุ้งเชิงกราน, การฉีดสีเอกซเรย์, การวิเคราะห์น้ำอสุจิ, การคัดเชื้อตัวอสุจิ, การตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนในร่างกาย

- การใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ : IVF, ICSI, GIFT, LAH, PGD
- การผ่าตัดต่อท่อนำไข่ (ผ่าตัดแก้หมัน)
- การผ่าตัดเนื้อ sperm (Sperm Retriveal) : PESA, TESE
- การตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม : PGD, PCR
- การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

1. การทำกิ๊ฟ (GIFT)
2. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
3. การทำอิ๊กซี่ (ICSI)
4. การคัดเลือกเชื้ออสุจิฉีดผสมเทียม ( IUI)


การทำกิ๊ฟท์ GIFT (Gamete Intrafallopian Transfers)

เป็นวิธีการนำเอาไข่ และตัวอสุจิใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ตรงตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติโดยใส่ผ่านหน้าท้องด้วยวิธีการส่องกล้องวิธีการนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีท่อรังไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิที่ค่อนข้างปกติ


ขั้นตอนในการรักษา
1. กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน ให้เกิดไข่หลายใบ
2. ติดตามการเจริญของถุงรังไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุก และรอให้ไข่เจริญเต็มที่ ซึ่งไข่จะสุกเต็มที่หลังฉีดยาประมาณ 34 – 36 ชั่วโมง
3. เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ที่มีหัวตรวจสอดทางช่องคลอดแล้วใช้เข็ม ขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะที่คนไข้ได้ยาระงับความรู้สึก
4. เตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
5. นำไข่และอสุจิมารวมกัน แล้วใส่กลับเข้าไปในท่านำไข่โดยใส่ผ่านทางหน้าท้อง ด้วยวิธีการส่องกล้อง
6. ให้ยาฮอร์โมน เพื่อช่วยให้รังไข่ทำงานสมบูรณ์ขึ้นหรือช่วยทำงานทดแทนรังไข่ และช่วยสนับสนุนการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก


กรณีใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม....
- การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
- การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับบริจาค
- การรับอสุจิบริจาค
- การคัดเลือกเพศ (Sex Selection)
- การนำเชื้ออสุจิออกจากอัณฑะด้วยวิธีเทเซ่ (TESE) หรือมีซ่า (MESA)


การทำเด็กหลอดแก้ว (In–Vitro Fertilization:IVF)

จะคล้ายกับการทำกิ๊ฟท์มาก ต่างกัน คือ แพทย์จะนำเอาไข่และเชื้ออสุจิมาผสมกันในหลอดทดลองจนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน อีกประมาณ 2 – 3 วัน ซึ่งจะได้ตัวอ่อนในระยะ 4 – 8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) แล้งจึงนำเอาตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและฝังตัวต่อไป ในการเตรียมตัวอ่อนนี้อาจจะมีตัวอ่อนที่เหลือ และแข็งแรงก็สามารถทำการแช่แข็งและเก็บไว้ใช้ในรอบการรักษาต่อไปได้

วิธีการนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ทั้งสองข้าง
มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เชื้ออสุจิของฝ่ายชายมีจำนวนน้อยหรือมีภาวะมีบุตรยาก
ที่ตรวจไม่พบสาเหตุ


ขั้นตอนในการรักษา
1. กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน ให้เกิดไข่หลายใบ
2. ติดตามการเจริญของถุงไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุก และรอให้ไข่เจริญเต็มที่หลังฉีดยา ประมาณ 34 – 36 ชั่วโมง
3. เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ ที่มีหัวตรวจสอดทางช่องคลอดแล้วใช้เข็มขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะที่คนไข้ได้ยาระงับความรู้สึก
4. เตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
5. นำไข่และเชื้ออสุจิมารวมกัน ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ ภายในห้องปฏิบัติการ
6. ตรวจสอบการปฏิบัติสนธิเพื่อพิจารณาเลี้ยงเป็นตัวอ่อนเพื่อย้ายเข้าโพรงมดลูก หรือแช่แข็งต่อไป


กรณีใช้เทคโนโลยีการรักษาเพิ่มเติม....
- การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
- การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับบริจาค
- การรับอสุจิบริจาค
- การคัดเลือกเพศ (Sex Selection)
- การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst Culture)
- บริการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing)


การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI)

วิธีนี้จะคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วมาก ต่างกันตรงที่การปฏิสนธิซึ่งการทำอิ๊กซี่


ขั้นตอนในการรักษา

1.กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน ให้เกิดไข่หลาย ๆ ใบ
2.ติดตาม การเจริญเติบโตของถุงไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้น ให้ไข่สุก และรอไข่เจริญเต็มที่ซึ่งไข่จะสุกเต็มที่หลังฉีดยา ประมาณ 34–36ชั่วโมง
3.เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ ที่มีหัวตรวจสอดทางช่องคลอดแล้วใช้เข็มขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะ ที่คนไข้ได้ยาระงับความรู้สึก
4.ตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
5.นำเอาเชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์โดยใช้เครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมากภายในห้องปฏิบัติการ
6.ตรวจสอบการปฏิสนธิ เพื่อพิจารณาเลี้ยงเป็นตัวอ่อนเพื่อย้ายเข้าโพรงมดลูก หรือแช่แข็งต่อไป
7.นำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ย้ายเข้าโพรงมดลูก ด้วยวิธีการคล้ายกับการตรวจภายในอาจจำเป็นต้องให้ยาฮอร์โมนเพื่อทดแทนการทำงานของรังไข่


กรณีใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม....

- การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
- การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับบริจาค
- การนำเชื้ออสุจิออกจากอัณฑะด้วยวิธีเทเซ่ (TESE)หรือมีซ่า (MESA)
- การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส์ท (Blastocyst Culture)
- บริการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing)


การคัดเลือกเชื้ออสุจิฉีดผสมเทียม (Intrauterine insemination:IUI)

เป็นการคัดเลือกตัวเชื้ออสุจิที่แข็งแรง และรูปร่างดี ในปริมาณที่มากพอฉีดเข้าสู่โพรงมดลูก โดยฉีดผ่านสายยาง ที่สอดผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อช่วยให้อสุจิมีโอกาสพบกับไข่ได้ง่ายขึ้น

วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีโอกาสในการตั้งครรภ์พอสมควรอย่างไรก็ตามผลการรักษาจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกกลุ่มคู่สมรสที่เหมาะสมในการรักษา ซึ่งควรจะเป็นคู่สมรสที่มีอายุไม่มากไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน ไม่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่รุนแรงหรือใช้กับฝ่ายชายที่มีภาวะผิดปกติไม่มาก


ข้อมูลจาก ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลเสรีรักษ์

Continue reading
  480 Hits
480 Hits
Jul
07

PGD:Pre-implantation Genetic Diagnosis

nl04

PGD:Pre-implantation Genetic Diagnosis 

PGD:Pre-implantation Genetic Diagnosis New Edition

คือ การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อน โดยนำเซลล์ตัวอ่อนมาเจาะเปลือกออกเล็กน้อยแล้วดึงเซลล์ที่อยู่ภายใน 1 - 2 เซลล์ออกมาตรวจ เพื่อตรวจสอบ "หน่วยพันธุกรรม" ที่จำเป็นรวมทั้งโครโมโซมเพศด้วย วิธีนี้นอกจากจะใช้วินิจฉัยความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมแล้ว ยังทำให้ทราบเพศของ "ตัวอ่อน" ได้อีกด้วย


ประโยชน์


1.ตรวจหาความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมและโรคที่ถ่ายทอดผ่านโครโมโซมเพศ
2.ลดอัตราการเกิดความผิดปกติของทารก
3.ลดอัตราการแท้งบุตร

4.เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว 

Continue reading
  483 Hits
483 Hits
Jul
07

ความหมาย IVF

nl03

ความหมาย IVF 

ข้อมูล IVF New Edition


ในทางการแพทย์ ภาวะการมีบุตรยากมิได้หมายความว่าไม่มีโอกาสมีบุตรอีกต่อไป ทว่าเป็นเรื่องของการมีโอกาสน้อยกว่าผู้อื่นในการมีบุตร จากสถิติของประชากรวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย ประมาณ 10 ล้านคู่ จะมีคู่สมรสประมาณ 1.5 ล้านคู่ที่ประสบกับปัญหาภาวะการมีบุตรยาก ภาวะการมีบุตรยาก จำแนกออกเป็นสองประเภทคือ


1.ภาวะการมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิ หมายถึงคู่สมรสดังกล่าวไม่เคยมีการตั้งครรภ์มาก่อน
2.ภาวะมีบุตรยากชนิดทุติยภูมิ คือคู่สมรสดังกล่าวเคยตั้งครรภ์มาแล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ครั้งถัดไป


สำหรับคู่สมรสที่ไม่สามารถมีบุตรได้เองโดยวิธีธรรมชาติและยินดีที่จะทำการรักษาจึงจำ เป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือคู่สมรสให้ตั้งครรภ์ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับรักษาภาวะมีบุตรยาก ได้พัฒนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งมีอยู่หลายวิธี การจะเลือกใช้วิธีใดในการรักษาขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์และความเหมาะสมในแต่ละกรณี


การให้การรักษา

1. การให้คำแนะนำในการรักษา
เจ้าหน้าที่หรือแพทย์จะซักประวัติส่วนตัว ประวัติประจำเดือน ประวัติการแต่งงานและการมีบุตร การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น ในการมารับบริการครั้งแรกควรมาพร้อมกันทั้งสามีและภรรยาเพื่อรับคำปรึกษาและหาสาเหตุการมีบุตรยากจากทั้งสองฝ่าย


2. การตรวจหาสาเหตุในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจร่างกาย, ตรวจเลือด เช่น กรุ๊ปเลือด, ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, เชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี, ซิฟิลิส, ภูมิไวรัสเอดส์, ภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (เฉพาะผู้หญิง) เพื่อดูว่ามีโรคหรือภาวะบางอย่างที่มีอันตรายหรือเป็นข้อห้ามในการตั้งครรภ์หรือไม่
ฝ่ายชายจะได้รับการตรวจอสุจิ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย (FSH, LH, Testosterone, Prolactin) เพิ่มเติม
ฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจดูระดับฮอร์โมนเพศ (FSH, LH, Prolactin, Progesterone, Estradiol) ในช่วงต่างๆ ของรอบเดือน ตรวจมูกปากมดลูก ตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดดูขนาดถุงรังไข่, ตรวจเอ็กซเรย์ฉีดสีท่อนำไข่, ส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง หรือส่องกล้องตรวจในโพรงมดลูก แพทย์จะตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ จากนั้นรักษาตามสาเหตุ ถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนผลที่ได้จะไม่คุ้มกับเสีย ส่วนจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็นและสภาพของผู้รับบริการทั้งฝ่ายชายฝ่ายหญิง

3. การเซ็นใบอนุญาตในการทำการรักษา
เมื่อตัดสินใจเข้ารับการรักษาทางโรงพยาบาลจะให้คู่สมรสเซ็นยินยอมการรักษา หากจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์


เทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยาก

การกระตุ้นรังไข่และการผสมเทียม (Intrauterine Insemination: IUI)
การฉีดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงผ่านการคัดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปฏิสนธิ (ช่วงเวลาไข่ตก) เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างตัวอสุจิกับไข่ วิธีนี้จะทำในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน นอกจากนี้ในกรณีอื่น เช่น ปัญหาบางส่วนที่ปากมดลูก, ภาวะฮอร์โมนรังไข่ทำงานผิดปกติ หรือยังไม่ประสบความสำเร็จโดยวิธีธรรมชาติหรือนับช่วงวันไข่ตก และเป็นวิธีรักษาอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาเรื่องความสมบูรณ์ของเชื้อ หรือมีปัญหาด้านการหลั่งเชื้อ
วิธีทำการผสมเทียมมีหลายวิธี ได้แก่ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าช่องคลอด เข้าปากมดลูก เข้าโพรงมดลูกหรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าหลอดมดลูกโดยตรง ในบรรดาวิธีทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว วิธีที่นิยมแพร่หลายและมีอัตราความสำเร็จในเกณฑ์ดี คือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก ซึ่งเชื้ออสุจิที่จะฉีดจะต้องผ่านการล้างเอาเชื้อแบคทีเรีย และสารต่างๆออก และคัดเฉพาะเชื้ออสุจิที่แข็งแรง การผสมเทียมนี้เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งโดยปกติการผสมเทียมมักจะประสบผลสำเร็จภายใน 3-6 รอบเดือนของการรักษา ถ้ายังไม่ตั้งครรภ์ควรจะประเมินหาสาเหตุซ้ำเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป


การเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าไปในท่อนำไข่ (Gamete Intrafallopian - Transfer : GIFT)
คือ คือการนำไข่และอสุจิไปใส่ที่ท่อนำไข่ เริ่มจากการนำไข่ออกมาก่อน หลังจากนั้นจึงนำไข่กับเชื้ออสุจิฉีดเข้าท่อนำไข่ผ่านการผ่าตัดส่องกล้องให้ไข่กับเชื้ออสุจิผสมกันบริเวณท่อนำไข่ หากเชื้อสมบูรณ์ดีจะเกิดการปฏิสนธิวิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายอสุจิปกติ


ขั้นตอนการรักษา
1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงรังไข่ โดยใช้ยากระตุ้นให้ไข่สุกพร้อมกันหลายใบ แพทย์ติดตามการเจริญเติบโตของไข่ด้วยวิธีอัลตราซาวนด์ และการตรวจระดับฮอร์โมนในเลือด
2. เมื่อไข่พร้อม สามีจะทำการเก็บน้ำเชื้อเพื่อคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรง ส่วนภรรยาจะทำการเก็บไข่ โดยผ่านทางหน้าท้องด้วยกล้องส่องตรวจทางหน้าท้อง เมื่อได้ไข่และอสุจิแล้วจะนำกลับเข้าไปทางท่อนำไข่
3. การให้ฮอร์โมนเพื่อช่วยการฝังตัวของตัวอ่อน แพทย์จะให้ฮอร์โมน Progesterone เพื่อช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
4. การทดสอบการตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการตั้งครรภ์ หลังจากทำประมาณ 14 วัน


ข้อดี-ข้อเสีย
1.เลียนแบบวิธีธรรมชาติมากที่สุด ทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูง
2.การเก็บไข่และย้ายตัวอ่อนโดยใช้กล้องส่องตรวจทางหน้าท้อง เจ็บมากกว่าวิธีเก็บไข่ และย้ายตัวอ่อนทางช่องคลอด
3.ถ้าไม่ตั้งครรภ์ จะไม่สามารถอธิบายได้ว่าเกิดจากการปฏิสนธิหรือจากการฝังตัวอ่อน


เราสามารถแก้ไขภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร?

ในเบื้องต้นแพทย์จะรักษาสาเหตุที่แก้ไขได้
- การให้ยารักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในอุ้งเชิงกราน โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ โรคทางร่างกายอื่นๆ
- การผ่าตัดแก้ไขในรายที่ท่อนำไข่อุดตัน เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ พังผืดในอุ้งเชิงกราน เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ
- การใช้ยาร่วมกับการผ่าตัดด้วยกล้อง Laparoscope ในบางราย


อย่างไรก็ตามมีหลายสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ หรือแก้ไขแล้วคู่สมรสก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่างๆ ช่วยเหลือคู่สมรสให้ตั้งครรภ์ ซึ่งได้แก่
- การฉีดชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI )
- การทำกิ๊ฟ (GIFT)


การปฏิสนธินอกร่างกาย ได้แก่
- การทำเด็กหลอดแก้ว ( IVF-ET )
- การทำซิฟท์ (ZIFT)
- การทำเท็ท ( TET )
- การทำอิ๊คซี่ ( ICSI )
- การตรวจความสมบูรณ์ของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Preimplantation diagnosis : PGD)
- การใช้เทคโนโลยีช่วยการฟักตัวอ่อน (Laser Assisted Hatching : LAH)


การปฏิสนธินอกร่างกาย

คือการนำไข่และเชื้ออสุจิมาผสมให้เกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นใส่กลับเข้าหลอดมดลูกหรือโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์


การเคลื่อนย้ายตัวอ่อนระยะ Pronuclear stage เข้าไปในท่อนำไข่ (Zygote Intrafallopian Transfer : ZIFT/ Pronuclear stage Tubal Transfer : PROST)
วิธีการคล้ายกับการทำ GIFT แต่จะทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกายจนเป็นตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์ ที่เราเรียกว่า Zygote แล้วจึงทำการผ่าตัดส่องกล้องย้ายกลับทางท่อนำไข่ตัวอ่อน


เท็ท (Tubal Embryo Transfer: TET) คือ การเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิแล้วต่ออีก 1 วัน ให้มีการแบ่งเซลล์ก่อน อาจเป็นระยะ 2-4 หรือ 6 เซลล์ หรือที่เรียกว่า "ตัวอ่อน" แล้วจึงใส่กลับเข้าไปที่ท่อนำไข่ ZIFT และ TET ต่างจาก GIFT คือรอให้มีการปฏิสนธิกัน แล้วจึงใส่กลับสู่โพรงมดลูก


การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertillization :IVF)
เด็กหลอดแก้ว เริ่มทำเป็นครั้งแรกในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อ 20 ปีเศษ จนกระทั่งประสบความสำเร็จในคน การปฏิสนธินอกร่างกาย โดยการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ให้ได้ไข่หลายๆ ใบ เมื่อไข่สุกเต็มที่แล้ว จะทำการเจาะเก็บไข่และอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายและแบ่งเป็นตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนอายุประมาณ 3 - 5 วันจึงทำการย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกทางปากมดลูกของฝ่ายหญิง การปฏิสนธิภายนอกร่างกายเหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติที่ท่อนำไข่, เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ กรณีที่ฝ่ายชายมีอสุจิจำนวนน้อย หรือไม่ทราบสาเหตุ


การนำอสุจิ1 ตัวเจาะเข้าไปในไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ (Intracytoplasmic Sperm Injection :ICSI)
คือการช่วยปฏิสนธินอกร่างกายในระหว่างกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ภายหลังจากทำการเจาะไข่ออกมาแล้ว จะใช้เข็มแก้วที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นผมดึงเซลล์อสุจิ 1 เซลล์แล้วฉีดเข้าไปในไข่เพื่อช่วยการปฏิสนธิโดยตรง เป็นการช่วยเหลือการปฏิสนธิโดยนำอสุจิจำนวน 1 ตัวฉีดผ่านผนังชั้นที่หุ้มไข่ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่มีกำลังขยาย 200 – 400 และนำมาเลี้ยงเหมือนเด็กหลอดแก้ว เมื่อตัวอ่อนมีการแบ่งตัวจะนำมาย้ายกลับทางโพรงมดลูก วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายชายมีปัญหาเชื้อน้อยมากหรือตัวอ่อนไม่ปฏิสนธิจากการทำเด็กหลอดแก้ว


ขั้นตอนการรักษา
1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงรังไข่ โดยใช้ยากระตุ้นเพื่อให้ไข่สุกพร้อมกันหลายๆ ใบ แพทย์ติดตามการเจริญเติบโตของไข่ด้วยวิธีตรวจอัลตร้าซาวด์ และการตรวจระดับฮอร์โมนในเลือด
2. การเก็บไข่ เมื่อไข่พร้อมแพทย์จะทำการเก็บไข่ทางช่องคลอด โดยอาศัยคลื่นเสียงความถี่สูง ส่วนสามีจะทำการเก็บน้ำเชื้อ และนำไปทำการคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรง
3. นำอสุจิ 1 ตัวฉีดผ่านผนังชั้นที่หุ้มไข่ และนำไปเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อน
4. หลังจากเลี้ยงตัวอ่อนได้ประมาณ 3 – 5 วัน จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับทางโพรงมดลูก
5. แพทย์จะให้ฮอร์โมน Progesterone เพื่อช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
6. หลังจากย้ายตัวอ่อนได้ประมาณ 10 – 14 วัน แพทย์จะทำการตรวจเลือดดูการตั้งครรภ์

Continue reading
  509 Hits
509 Hits
Jul
07

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

nl01

 สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

มีผู้ประมาณการไว้ว่า 1 ใน 6 ของคู่สมรสจะมีปัญหาเรื่องมีบุตรยาก จำนวนคู่สมรสที่มีบุตรยากในปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหลายสาเหตุเช่นการแต่งงานช้าลง สาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นพบว่า


30-40% เกิดจากสาเหตุทางฝ่ายหญิง
30-40% เกิดจากสาเหตุทางฝ่ายชาย
ที่เหลือ 5-10% พบทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
ดังนั้นการตรวจหาสาเหตุจึงควรทำทั้งสองฝ่าย


ภาวะมีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง ภาวะหรือโรคที่เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของคู่สมรส ที่ทำให้สตรีไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หลังจากอยู่กินฉันท์สามีภรรยาทั่วไปโดยไม่ได้คุมกำเนิด 1 ปี ขึ้นไป


ภาวะปกติ
ปกติการตั้งครรภ์ และมีบุตร ต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง กล่าวคือ ฝ่ายชายต้องสามารถผลิตอสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์ ฝ่ายหญิงต้องสร้างไข่ที่สมบรูณ์ ไข่ต้องถูกรับเข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่ต้องไม่ตันที่จะทำให้เชื้ออสุจิวิ่งไปหาไข่ได้ เชื้ออสุจิสามารถเจาะเข้าไปในไข่เพื่อให้เกิดปฏิสนธิ และแบ่งตัวออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นต้องสมบูรณ์ และสามารถเดินทางเข้าไปในโพรงมดลูกและฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตจนถึงเวลาคลอดซึ่งต้องอาศัยภาวะฮอร์โมนที่ปกติมดลูก,ปากมดลูกและช่องคลอดที่สมบูรณ์ การขาดปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าว ย่อมทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้คู่สามีภรรยาโดยทั่วไปที่ไม่ได้คุมกำเนิด สตรีจะตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 50 ภายใน 6 เดือน และประมาณร้อยละ 80 ภายใน 1 ปี


สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
บรรดาผู้มีบุตรยาก ที่พบสาเหตุร้อยละ 30 เกิดจาก ฝ่ายสตรีร้อยละ 30 จากฝ่ายชาย และร้อยละ 30 เกิดจากทั้งสองฝ่าย และอีกร้อยละ 10 ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนสาเหตุของฝ่ายชายที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้ออสุจิน้อยไม่แข็งแรง หรือไม่มีเชื้ออสุจิออกมาในอสุจิ ทำให้อสุจิไม่สามารถไปผสมกับไข่ได้ ที่พบบ้างเป็นส่วนน้อยในฝ่ายชายคือยีนส์ผิดปกติหรือโครโมโซมผิดปกติสาเหตุทางฝ่ายหญิงที่พบบ่อยได้แก่ ไข่ไม่ตก, ท่อนำไข่อุดตัน หรือมีพังผืดซึ่งมักเกิดจากการอักเสบในอุ้งเชิงกรานหรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ (endometriosis) ซึ่งบางคราวทำให้มีอาการปวดท้องน้อย พังผืด และถุงนํ้า(cyst) ของรังไข่บางรายอาจมีการเจริญผิดปกติ ของ มดลูกหรือมีเนื้องอกมดลูกซึ่งทำให้มีการแท้งบ่อย ๆ


เมื่อไรควรจะไปพบแพทย์
โดยทั่วไปมักจะแนะนำว่า เมื่อคู่สามีภรรยาที่พยายามจะให้มีการตั้งครรภ์ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี แล้วไม่สำเร็จควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ แต่ถ้าสตรีอายุมากกว่า 30 ปี หรือประวัติการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่สมํ่าเสมอ แท้งมากกว่า 2 ครั้งติดต่อกัน หรือฝ่ายชายทราบว่า ผลตรวจเชื่ออสุจิของตนผิดปกติก็ควรปรึกษาแพทย์เร็วกว่านั้น


สตรีจะมีไข่ตก และตั้งครรภ์ได้ง่ายที่สุดเมื่อไร
ถ้าให้นับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือนประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือนของสตรีทั่วไป จะตกไข่หมายความว่ารังไข่สร้างไข่ขึ้นมาเติบโตเต็มที่แล้วหลุดออกมาจากถุงไข่ ไข่ที่หลุดออกมาจะมีความสามารถปฏิสนธิ และมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง สตรีบางคนอาจมีไข่ตกก่อนหรือหลังวันที่ 14 ของรอบเดือน บางคนไข่ก็ไม่ตก(แม้ไข่ไม่ตกสตรีก็มีประจำเดือนได้) การตกไข่ของสตรีคนเดียวกัน อาจคลาดเคลื่อนได้ในแต่ละเดือน ช่วงนี้เป็นช่วงที่สตรีจะตั้งครรภ์ง่าย เชื้ออสุจิจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 48 ชั่วโมง และจะเป็นการดีถ้ามีเชื้ออสุจิในท่อนำไข่มากพอในช่วงไข่ไม่ตก


ควรมีเพศสัมพันธ์ กันบ่อยแค่ไหน
จะให้ดีควรมีเพศสัมพันธ์กันวันเว้นวันในช่วงจะมีอาการตกไข่(วันที่ 10, 12, 14, 16, 18 ของรอบเดือน) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผู้หญิงไม่ใช่จะมีไข่ตกวันที่ 14 ของรอบเดือนเสมอไป อาจมีคลาดเคลื่อนได้บ้าง และถ้าเดือนนี้ไข่ตกวันที่ 14 เดือนต่อไปก็อาจตกวันอื่นได้การที่มีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันเพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีอสุจิมากพอในท่อนำไข่ช่วงที่มีไข่ตก และไม่ควรใช้น้ำล้างช่องคลอด หรือสารหล่อลื่นใด ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว


อาการและสาเหตุไข่ไม่ตก
ไข่ไม่ตก เป็นสาเหตุที่พบมากอันดับหนึ่ง คู่กับสาเหตุของท่อนำไข่ผิดปกติในสตรีที่มีบุตรยาก ส่วนใหญ่จะมีอาการประจำเดือนมาช้าไป, เร็วไป หรือไม่สมํ่าเสมอหรือ ไม่มีประจำเดือนมาเลยนาน ๆ แต่สตรีที่ไม่มีไข่ตกบางรายก็มีประจำเดือนมาทุก ๆ 28 วัน 30 วัน หรือ 32 วัน ฯลฯ ที่สมํ่าเสมอก็ได้ สาเหตุที่ทราบได้แก่กลุ่มอาการถุงไข่เล็ก ๆ หลายฟอง (Polycystic ovarysymdrome) โรคของต่อมธัยรอยด์ โรคตับ โรคไต โรคที่ทำให้ฮอร์โมนโปรแลคติน (ฮอร์โมนเกี่ยวกับการสร้างนํ้านม) สูงผิดปกติ


ท่อนำไข่ตัน และมีพังผืด
การมีท่อนำไข่ตันจะทำให้เชื้ออสุจิ ไม่สามารถวิ่งไปผสมกับไข่ได้ การมีพังผืดทำให้ไข่ไม่หลุดออกจากรังไข่ หรือถ้าหลุดออกมาได้ แต่ไม่สามารถเข้าไปในท่อนำไข่ได้มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น การอักเสบมาก่อน การมีโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ ผลจากการผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานในครั้งก่อน ๆ หรือจากอาการมีท้องนอกมดลูก เป็นต้น


เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ Endometriosis คืออะไร
หมายถึงเยื่อบุโพรงมดลูกไปขึ้นนอกมดลูก เช่น ในอุ้งเชิงกราน ที่รังไข่ ที่ท่อนำไข่ ทำให้มีพังผืดเกิดขึ้นนอกจากนี้ยังทำให้ท่อตันและทำให้เกิดเป็นถุงเลือด (chocolate cyst) ของรังไข่ โรคนี้อาจทำให้มีอาการปวดในอุ้งเชิงกราน ปวดประจำเดือนหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ (ประมาณกันว่า 70% ของผู้มียากมีเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่)


สาเหตุจากมดลูกและปากมดลูก
ปากมดลูกคือส่วนล่างของมดลูกที่ติดต่อกับช่องคลอดปากมดลูกมีมูกใสเมื่อใกล้เวลาที่จะมีไข่ตก ทำให้เชื้ออสุจิผ่านเข้าไปในมดลูก และไปที่ท่อรังไข่ได้ดี ก่อนและหลังช่วงดังกล่าวมูกจะเหนียวข้น ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ถ้ามูกช่วงตอนไข่ตกปกติ เช่น เหนียวข้นเกินไปทำให้เชื้ออสุจิดเข้าไป ผสมกับไข่ไม่ได้ มักเกิดจากการอักเสบ หรือการตอบสนองต่อฮอร์โมนไม่ดี ตัวมดลูกที่ทำให้มีบุตรยากเกิดจากการที่มีการเจริญที่ผิดปกติ หรือมีพังผืดในโพรงมดลูกจากการอักเสบมาก่อนหรือการขูดมดลูกอย่างรุนแรงจากการแท้งในครั้งก่อน เป็นต้น


ข้อมูลจาก รพ. พญาไท ศรีราชา

Continue reading
  493 Hits
493 Hits
Apr
19

Deep & Harmonicare IVF Center สูตรการกระตุ้นไข่ในการทำเด็กหลอดแก้วมีกี่วิธี

2021-04-19_14-14-15
สูตรการกระตุ้นไข่ในการทำเด็กหลอดแก้วมีกี่วิธี จะทราบได้อย่างไรว่าวิธีไหนเหมาะสมที่สุด
จากนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นพ.ชัยสึก จิวะธนะพร
-------------------------------------------------
สามารถ add line , Inbox หรือโทรสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
Tel: 0925564517
Line : dhc_ivf
FB:Deep&Harmonicare IVF Center
IG:deepharmonicareivf
youtube:deep harmonicare
? Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
? Deep&Harmonicare IVF Center 2483 New Petchaburi Road,Bangkapi,Huay Kwang,
Bangkok 10310,Thailand

Tel.093-7891313 

Continue reading
  520 Hits
520 Hits
Apr
08

Superior A.R.T. Thailand ภาวะท่อนำไข่ที่ผิดปกติ ยังสามารถมีบุตรได้หรือไม่

2_Moment
???????? ?.?.?. ????????? : ??.6
❝ภาวะท่อนำไข่ที่ผิดปกติ ยังสามารถมีบุตรได้หรือไม่❞
ท่อนำไข่คืออะไร หากมีภาวะบวม อุดตัน จะส่งผลต่อการมีบุตรยากอย่างไร และในกรณีที่ฝ่ายหญิงทำหมันแล้วต้องการกลับมามีบุตรอีก ทำได้อย่างไร
?พบคำตอบโดย : คุณหมอนิ พญ.นิศารัตน์ สูตินรีแพทย์ - ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ คลินิกซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.
#ปรึกษาปัญหามีบุตรยาก
#หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
??? : 02-035-1400, 063-904-8899
????? : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
???? ?? : SART-TH

???????/ ?? : Superior A.R.T. Thailand 

Continue reading
  524 Hits
524 Hits